“ธีรศักดิ์-อภิญญา 2 นักศึกษา ม.ราชภัฏสวนสุนันทา คว้ารางวัล "ชนะเลิศ-รองชนะเลิศ" ประกวดโครงงาน “สร้าง เสริม สุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสู่สังคมสุขภาวะ“ความสุข 8 ประการ (Happy 8)” ยั่งยืน บนเวที Happy University ราชภัฏ สร้าง เสริม สุขภาวะสู่สังคมไทย” นางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้มอบรางวัล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย กองพัฒนานักศึกษา ฝ่ายวินัยและพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ คล้ายสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มอบหมายให้ นางสาวอัญชลี กันจู หัวหน้าฝ่ายวินัยและพัฒนานักศึกษา พร้อมด้วย นายธีรศักดิ์ โสพิพันธ์ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ และ นางสาวอภิญญา ศุภวิเศษ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เข้าร่วมงาน “เวที Happy University ราชภัฏ สร้าง เสริม สุขภาวะสู่สังคมไทย” ภายได้ โครงการ "สร้าง เสริม สุข" มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ทั้งนี้ นายธีรศักดิ์ โสพิพันธ์ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ในฐานะ หัวหน้ากลุ่มงานกิจการพิเศษ คณะกรรมการสภานักศึกษา ประจำปี 2568 ภายใต้ชื่อทีม Happy U ได้รับรางวัลชนะเลิศ และนางสาวอภิญญา ศุภวิเศษ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ในฐานะ กลุ่มงานพยาบาล คณะกรรมการสภานักศึกษา ประจำปี 2568 ประเภททีมภายใต้ชื่อทีม Happy New Year ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดออกแบบโครงงาน "สร้าง เสริม สุข" มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ” ในมุมมองนักศึกษา ภายใต้แนวคิด “ความสุข 8 ประการ (Happy 8)” โดยมี นางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้มอบรางวัลในครั้งนี้
นายธีรศักดิ์ เปิดเผยว่า “สำหรับแนวคิดในการเขียนโครงงานของกลุ่ม Happy U ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ช่วยกัน ระดมความคิดเพื่อออกแบบโครงงาน “สร้าง เสริม สุข" มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ” ในมุมมองนักศึกษา ภายใต้แนวคิด “ความสุข 8 ประการ (Happy 8)”
“โดยมีแนวคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ จัดตั้งองค์กรในรูปบบของ “ชมรม” ภายใต้ชื่อ “ชมรม Happy SMHCC University” (Social Mental Health Care Center) ศูนย์ให้คำปรึกษาทุกคนด้วยหัวใจ ภายในมหาวิทยาลัย ที่มีสมาชิกในชมรมประกอบด้วย นักศึกษาทั่วไปและนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับหลักสูตรจิตวิทยา ที่ผ่านการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาและเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ที่ทำหน้าที่ในการคัดกรองก่อนส่งต่อผู้มารับบริการให้กับผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้มารับบริการ และมีการจัดพื้นที่กิจกรรมจัดการความเครียดที่ปลอดภัยสำหรับการให้บริการคำปรึกษา "Safety Zone"
“นอกจากจะมีพื้นที่จะมีการให้คำปรึกษา ยังมีกิจกรรมดนตรีบำบัด บอร์ดเกมส์ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดการผ่อนคลาย รวมถึง จะมีการทำความร่วมมือกับโรงพบาบาลที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อผู้มารับบริการให้ได้รับความช่วยเหลือต่อไป อีกทั้ง มีการวัดความพึงพอใจของผู้มารับบริการ เป็น ตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดตั้งชมรม “Happy SMCC University”
“ทั้งหมดนี้ เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปบริหารจัดการให้สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และในอนาคตจะมีการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินงานช่วยเหลือต่อไป”
ทางด้าน นางสาวอภิญญา เปิดเผยว่า “สำหรับกลุ่ม Happy New Year มีสมาชิกกลุ่มประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยแนวคิดการเขียนโครงงาน “สร้าง เสริม สุข มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ” ในมุมมองนักศึกษา ภายใต้แนวคิด “ความสุข 8 ประการ (Happy 8)” นั้น สมาชิกในกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่า เราจะเป็นองค์กรที่มีการรวมตัวของอาสาสมัครจิตสาธารณะที่ให้ความสนใจดูแลกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของโครงงานนี้ ภายใต้ชื่อกลุ่มจิตอาสา “Happy สัญจร จิตอาสาลงสอน สานสายใยชุมชน”
“โดยจะทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในทุกมิติ รวมถึง ให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ และสมาชิกในชุมชนอีกด้วย เพื่อให้ทุกคนมีความรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพทั้งของตนเองและคนในครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ยังจะส่งผลถึงการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและลดภาระของหน่วยงานภาครัฐ นับเป็นการป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืนอีกด้วย”
“ที่สำคัญสมาชิกจิตอาสากลุ่มนี้จะต้องได้รับการฝึกอบรม และฝึกทักษะการดูแลรักษาผู้สูงอายุเบื้องต้นเป็นพื้นฐานก่อน จึงจะสามารถดูแลรักษาผู้สูงอายุต่อไปได้”
“ทั้งนี้ กระบวนการทำงานของกลุ่มจิตอาสา “Happy สัญจร จิตอาสาลงสอน สานสายใยชุมชน”จะมีการลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับโรงพยาบาลสุขภาพประจำตำบล จะมีการจดบันทึกข้อมูล ตรวจคัดกรองแยกประเภทกลุ่มผู้สูงอายุ สุขภาพแข็งแรง มีโรคประจำตัวไม่เรื้อรัง หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุที่ไม่มีกำลังทรัพย์และขาดความสามารถในการดูแลตนเอง ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้”
“การดูแลและให้ความรู้ จะเน้นด้านโภชนาการอาหาร เป็นหลัก โดยใช้นวัตกรรม วงล้อสุ่มอาหาร ซึ่งใช้แนวคิดนี้ ได้มาจากการที่กลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาล กรณี การดูแลมารดาท