"สมาคม BINA โดย รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ นายกสมาคมฯ ร่วมกับ Central Lab Thai ลงนาม MOU ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และ SMEs สู่มาตรฐานสากล ดันสินค้าไทยแข่งขันในตลาดโลก มุ่งสร้างเครือข่ายวัตถุดิบและองค์ความรู้เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน"
ที่ห้องประชุมห้องฝึกอบรม 4 บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด รองศาสตราจารย์ ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ประธานหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education) ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ นายกสมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (ค.อ.ท.ช.) Biotechnology Industry Network Association (BINA)
พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร์ กิจปรีชาวนิช อุปนายกสมาคม คนที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อุปนายกสมาคม คนที่ 2 และ รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา กาญจนวิสุทธิ์ อุปนายกสมาคม คนที่ 3 ในฐานะ คณะกรรมการบริหารสมาคม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี นายเจษฎา ศิริศรีวิโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการ 1 บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (แห่งประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ร่วมลงนามในครั้งนี้
สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในครั้งนี้ จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อ บูรณาการองค์ความรู้จากภาคส่วนต่าง ๆ เสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ห้างหุ้นส่วนจำกัด และองค์กรต่าง ๆ ให้สามารถพัฒนาทักษะและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมุ่งเน้นในการเตรียมความพร้อม และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับสากล ที่ตอบสนองต่อความท้าทาย และโอกาสใหม่ ๆ ในยุคดิจิทัล สนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ทางด้านห้องปฏิบัติการสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ห้างหุ้นส่วนจำกัด และองค์กรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมาคมฯ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาความร่วมมือด้านองค์ความรู้หรือบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุพันธกิจร่วมกันตามเป้าหมายที่วางไว้ และร่วมแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจอย่างเป็นระบบ รวมถึงการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถเติบโต ได้อย่างมั่นคง รวมทั้ง ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานระดับสากล รวมถึงการส่งเสริม ความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับตลาดทั้งในและต่างประเทศส่งเสริมความร่วมมือ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนารูปแบบการบริการ หรือกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการให้แก่กลุ่มพันธมิตร เพื่อนำไปสู่ การเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธินี นายกสมาคมฯ เปิดเผยว่า “สมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ จะร่วมสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายวัตถุดิบสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ ขยายความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการ และการวิจัย ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพระหว่างองค์กร สถาบัน และสมาชิก ทั้งในระดับชาติและระดับสากล โดย สมาคมฯ จะสนับสนุนและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้กับผู้ประกอบการเครือข่าย อันจะก่อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้แก่ประเทศ รวมถึงการบริการข้อมูลและระบบสารสนเทศ ประสานงานร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชีวภาพกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือสมาคมทั้งภายในและต่างประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือและการกระชับความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสมาชิก รวมถึง จัดหาแหล่งประโยชน์สนับสนุนทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมชีวภาพให้แก่สมาชิกผู้ประกอบการ และดำเนินกิจกรรมการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อความยั่งยืนของพี่น้องผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป”
“ทั้งหมดนี้ นับเป็นการสร้างความเข้มแข็ง สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับสังคม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป รวมถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการสร้างเครือข่ายวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ (value Chair) อันจะส่งผลนำไปสู่การพัฒนาทั้งององคาพยพ ผ่านการดำเนินงานของ สมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (ค.อ.ท.ช.)” รองศาสตราจารย์ ดร.เมธินี กล่าวในที่สุด
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธินี กล่าวเพิ่มเติมว่า “สมาคมฯ เป็นองค์กรที่มีการรวมตัวของผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมเครือข่ายอุตสาหกรรมชีวภาพ ประกอบไปด้วย
- สมาชิกประเภท สามัญ ได้แก่ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชีวภาพ ทั้งในและต่างประเทศ
- สมาชิกประเภท วิสามัญ ได้แก่ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจการประกอบกิจการและดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพ ทั้งในและต่างประเทศ”
- สมาชิกประเภท กิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลหรือสถาบัน ที่มีชื่อเสียง คุณวุฒิ และมีประสบการณ์ในการพัฒนา การศึกษาวิจัย หรือการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชีวภาพ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้การรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสมาคมก่อน
- สมาชิกประเภท ภาคี ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาในทุกสาขาวิชาชีพที่มีความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ ทั้งในและต่างประเทศ” โดย สมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดรับสมัครสมาชิกทั่วประเทศตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ นายกสมาคม โทรศัพท์ 081-826-0260
คลิกลิงก์สมัครสมาชิก https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfLgDVisNvGNCUODah5m4yAYd5gWUkyK8z3iUmKlwo0PC6PxA/viewform คลิกลิงก์ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://storage2.me-qr.com/pdf/d01bf3ce-683f-4dea-8841-bbdde5c1e5a9.pdf